หน้าเว็บ

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศาสนาสากลตามแนวคิดของไอน์สไตย์

เคยมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการแตกแยกกันทางความคิด ว่าความขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท การก่อการร้าย และส่งครามแท้ที่จริงมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ เท่าที่ถกเถียงกันมากที่สุดก็คือประเด็นของศาสนา และประเด็นของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นการผสมผสานกันและอาจจะมีประเด็นอื่นเข้ามาผสมโรงด้วย

จะว่าด้วยหลักคำสอนของศาสนาแล้วก็ทุกศาสนาต่างก็อ้างว่าเพื่อให้เกิดความสงบสุขเกิดขึ้นในสังคมและต้องการสันติภาพทั้งนั้น แต่เราก็ยังเห็นว่าไม่มีสันติภาพที่แท้จริงเกิดขึ้น ยังมีการบราฆ่าฟันทำลายล้างกันอยู่ในส่วนต่างๆของโลก และเราจะพบว่าจะเป็นสงครามฆ่าฟันกันจากผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างกันเป็นหลัก ส่วนอีกกระแสหนึ่งนั้นการทะเลาะก่อตัวมาจากการแย่งชิงทรัพยากร ผลประโยชน์กันทั้งสิน ถ้าคิดในประเด็นนี้ก็โยงไปถึงได้เช่นกัน ทั้งสองประเด็นหลักที่กล่าวมานั้นช่างประจวบเหมาะเหมือนจะกลายเป็นเรื่องเดียวกัน

ไอนสไตย์อาจจะเล็งเห็นความขัดแย้งอันนำมาสู่ความรุนแรงทำลายล้างกันจึงได้เสนอแนวคิดศาสนาแห่งจักรวาลที่เขาเรียกว่า cosmic religiousness โดยเขาได้บรรยายลักษณะว่าเป็นความรู้สึกทางศาสนาที่เป็นสากลจักรวาล (cosmic religious feeling) อย่างแรงกล้าเข้มข้น เป็นแรงจูงใจอันประเสริญที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และอีกประโยคหนึ่งอันเป็นสุดยอดของวาทะกรรมของไอน์สไตยที่กล่าวว่า “วิทยาศาสตร์ที่ไร้ศาสนาก็เหมือนคนเป็นขาง่อย ศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด” ถ้าคำว่าศาสนาในประโยคนี้หมายถึงศาสนาสากลจักรวาลแล้ว คงจะเป็นศาสนาที่มุ่งที่จะก่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างวัตถุและจิตวิญญาณ ที่น่าเชื่อได้ว่าจะช่วยลดความขัดแย้งความรุนแรงทั้งปวงที่อาจเกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น