หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธรรมจักรกับกวางหมอบ

เมื่อเราไปที่วัดบ่อยครั้งที่พบรูปธรรมจักร เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดถึงที่ไปที่มานักว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร เคยมีผู้พยายามให้ความหมายที่เป็นวงล้อแห่งธรรม เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศให้ชาวโลกได้นำไปยึดถือปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ ที่จะขับเคลื่อนธรรมให้คงอยู่คู่กับโลก แต่ในบางที่นอกจากจะมีรูปธรรมจักรดังกล่าวแล้วยังมีรูปกวางเหลียวหลังหมอบอยู่ด้านล่าง จึงน่าจะมีความหมายอะไรสักอย่าง


นั้นมีความเป็นมาในทางพุทธศาสนาในยุคต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของชนเผ่าทราวิฆซึ่งพูดภาษาทมิฬ เป็นชนเผ่าที่ครอบครองอินเดียอยู่ก่อนที่ชาวอารยันบุกรุกดินแดนอินเดีย พวกทราวิฆเป็นพวกที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมของตัวเองแล้ว พวกอารยันเองก็ได้รับอารยธรรมของพวกทราวิฆ

พวกทราวิฆมีลัทธิศาสนาที่นับถือบูชาพระศิวะ หรือพระวิษณุ ลัทธิบูชาเจ้าแม่กาลี (พระอุึมา) และพระศรี (ลักษมีชายาพระวิษณุ) และใช้รูปกวางเหลียวหลังหมอบอยู่ใต้แท่นรูปเคารพ เช่นเดียวกับพุทธศาสนายุคต้น โดยถือว่ากวางเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ แต่สัญลักษณ์นี้น่าจะมีทีหลังเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับคนที่เชื่อลัทธิอื่นให้หันมาสนใจพุทธศาสนาก็เป็นได้ เป็นการประสานระหว่างของเก่าและของใหม่ให้ไปด้วยกันได้ เหมือนกับที่เรียกกันในปัจจุบันว่าสมานฉันท์

ในอีกทางหนึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีร์ในครั้งแรกด้วย ด่วยหลักธรรมที่เรียกว่าธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ทีเปรียบธรรมจักรเหมือนวงล้อราชรถที่พระพุทธองค์เป็นสารถี ทำให้วงล้อธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธมาก่อนที่จะเป็นพระพุทธรูป ส่วนกวางหมอบที่อยู่ข้างธรรมจักรนั้น อาจเป็นไปได้ว่าได้ปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งมีกวางอาศัยเป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น