นักวิจัย หมายถึงผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีการดังกล่าวจึงครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการทีใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
จรรยาบรรณ หมายถึงหลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณในการวิจัยจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วยในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การวิจัยอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้ ด้วยเหตุนี้สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด จรรยาบรรณนักวิจัยไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการดังนี้
1. นักวิจัยต้องซื่อสัตว์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาที่ทำวิจัย
4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
7.นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ พึงเผยแพร่งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบเกินความจริง
8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น มีใจกว้างพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และพร้อมนำมาปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตัวเองให้ถูกต้อง
9. นักวิจัยพีมีความระบผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ
….สรุปจากแผ่นพับเผนแพร่โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เรียนถาม หากนักวิจัยบางคน มีการทำหัวข้อเดียวกัน แต่แตกต่างตัวแปร เช่น
ตอบลบศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร อีกหัวข้อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย อย่างนี้ถือว่าผิดจรรยาบรรณหรือเปล่าครับ