หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์กับสังคม

แม้จะกล่าวกันว่าปัจจุบันเราอยู่ในยุคของสังคมข่าวสาร และกำลังเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีชีวภาพ หรือยุคอินโฟไบโอติก หรือยุคข่าวสารชีวภาพ (infobiotic) จะอย่างไรก็แล้วแต่จะกล่าวว่าตัดขาดจากวิทยาศาสตร์เรื่องอื่นๆ คงจะไม่ได้ วิทยาศาสตร์พื้นฐานเช่น เคมี หรือฟิสิกส์ แทรกซึมเป็นพื้นฐานอยู่เกือบทุกเรื่อง ถ้าผมจะให้ชื่อยุคนี้น่าจะเป็นยุค การบูรณาการวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตเสียมากกว่า แต่ถ้ามองกันว่าเริ่มยุควิทยาศาสตร์ตั้งแต่เมื่อไรนั้น น่าจะเริ่มตั้งแต่มีการสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน แบ่งเบาภาระงานของมนุษย์ลงไป งานที่น่าเบื่อหน่ายซ้ำซาก งานที่คำนวณยุ่งยาก ก็ให้คอมพิวเตอร์ทำ ซึ่งน่าจะเป็นยุคเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อยู่ระหว่างปี 1950-1960 เป็นต้นมา


ในรอบร้อยกว่าปีที่ผ่านมาแล้วที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้บรรจุรายวิชาวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนักศึกษาจะจบการศึกษาได้จะต้องลงเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 1 รายวิชา วิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิชาพื้นฐานบังคับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องมือสำหรับนักศึกษาทุกวิชาเอก ให้เป็นผลเมืองของโลกที่วิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่ง เพื่อที่จะดำรงชีวิตได้อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเป็นส่วนของสังคม ว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อสังคมที่จะต้องมีนักวิทยาศาตร์ มีคนเคยกล่าวว่านักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่ได้เรียนรู้ ถึงว่าวิทยาศาสตร์มีความน่าสนใจ วิทยาศาสตร์น่าตื่นเต้น วิทยาศาสตร์กระตุ้นปลุกเร้าให้มีจินตนาการ และเช่นเดียวกันนักเรียนนักศึกษาของเราก็ไม่ได้เรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ เสียงบ่นที่ได้ยินอาจเป็นว่ามีความรู้ความจริงมากมายที่จะต้องจำ มีเทคนิคในการปฏิบัติการมากเกินไป และมีปัญหามากมายหลายชนิดที่จะต้องแก้ให้ตก และสุดท้ายพวกเขาอาจจะไม่รู้เลยว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร

ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ว่าวิ่ทยาศาสตร์ก่อเกิดมาจากคำถาม เราอาจจะกังวลมากเกินไปกับการสอนสิ่งที่รู้กันแล้ว เราพบว่ามีความยุ่งยากที่จะให้ทราบสิ่งที่ยังไม่ทราบ สิ่งที่ยังไม่ทราบก็คืออนาคต สิ่งที่ทราบแล้วก็คือประวัติวิทยาศาสตร์ คนที่เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากคำตอบและมีความโน้มเอียงที่จะลืมคำตอบนั้น จากเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์อาจจะแสดงให้เห็นว่า จากคำถามต่างๆ เหล่านั้นและคำตอบที่เราได้ นั้นมาจากคนที่มีจิตขี้สงสัยชอบตั้งคำถาม จินตนาการต่างๆ เป็นหลักสำคัญสำหรับวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาคำถามรากฐานต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของแต่ละคนคือการจินตนาการที่สร้างสรรค์ นักวิท่ยาศาสตร์จำต้องแสดงผลผลิตของการจินตนาการด้วยภาษา และกฏเกณฑ์ทางความคิดที่แน่นอนอันได้แก่คณิตศาสตร์ และการคิดออกมาเป็นคำพูด ซึ่งประการหลังนั้นมีขีดจำกัดอยู่มากเพราะทั้งผู้สอนผู้เรียนมีคำศัพท์ที่ใช้อธิบายได้ไม่มาก หรือไม่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงไม่สามารถใช้ได้อยางแน่นอนตายตัว จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งว่าทำไมจึงใช้คณิตศาสตร์ในการอธิบายได้อย่างถูกต้องแน่นอนกว่า แต่ทำให้ยากสำหรับผู้่ที่มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น