จุดประสงค์หลักของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงสิ่งแวดล้อมนั้น ก็เพื่อรักษาความสมดุลย์ทางธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งโดยธรรมชาติมีการปรับตัวเองเพื่อรักษาความสมดุลย์ เพราะทุกขณะมีการเคลื่อนไหวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไปได้ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างสมดุลย์ของการสร้างสรรค์และการถูกทำลายอย่างเหมาะสม แต่เมื่อไรที่มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างไม่สมดุลย์ การปรับตัวเองจะเป็นไปในแนวทางที่ย้อนกลับมาทำลายล้างมนุษย์เอง ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุ น้ำถ่วม ไฟไหม้ป่า และในภาวะปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เหมาะสมได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ชาติเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยไม่จำกัดว่าประเทศไหนเป็นผู้กระทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ มนุษย์กำลังเข้าไปสู่จุดที่จะต้องมากำหนดระเบียบโลกกันใหม่ มิฉะนั้นแล้วมนุษย์จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้วเองก่อขึ้นมา
ในภาวะเช่นนี้การชลอการบริโภคของผลเมืองให้ประหยัด ให้ใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม แต่ไม่สามารถที่จะรณรงค์ให้ทุกประเทศบนโลกนี้ใช้มาตรการเดียวกัน เพราะบางประเทศยังห่วงในเรื่องของความมั่งคั่งยังห่วงว่ามาตรการจะสวนทางกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลักแล้ว ยากยิ่งที่จะรักษาโลกใบนี้ไว้ได้ให้ยั่งยืน เป็นที่อยู่ที่อาศัยอย่างสงบสุข ก็ให้นึกถึงคำพูดของบุคคลสำคัญหลายคนที่เคยพูด คอยเตือนไว้ ไอน์สไตย์เคยพูดว่าวิทยาศาสตร์ที่ขาดศาสนาเหมือนกับคนเป็นง่อย หรือศาสนาที่ขาดวิทยาศาสตร์ก็เหมือนกับคนตาบอดอะไรทำนองนี้ และที่เด่นชัดท่านพุทธทาษได้เน้นเป็นอย่างมากว่า ไม่เห็นแก่ตัว ให้ขจัดอัตตาตัวตนอย่างไปมองเป็นเจ้าของ ทำอะไรให้มีจิตว่างจากกิเลส และโดยเฉพาะที่กล่าวไวว่า ถ้าศิลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ ถ้ามองภาวะปัจจุบันโลกก็เข้าสู่จุดนั้นเข้าไปทุกที
ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีศาสนาดั้งเดิมที่เรียกว่าศาสนชินโตหรือศาสนาธรรมชาติ ที่ยึดถือธรรมชาติเป็นสาธารณะที่ทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาเอาไว้ ถือว่าต้นไม้ทุกชนิดมีจิตวิญญาณเช่นเดียวกับมนุษย์ ก้อนหิน ดินทราย ก็คิดให้มีชีวิต ทำให้คนญี่ปุ่นอยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุลย์มากกว่า ชนชาติอื่น แม้ว่าประเทศจะเป็นเกาะแก่งป่าเขาเสียเป็นส่วนมากมีพื้นดินน้อย อาศัยกันอย่างหนาแน่น แต่น่ายกย่องที่สามารถรักษาป่าเอาไว้ได้มากกว่า 60 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม่ถึง 20 เปอร์เซนต์ซึ่งแน่นอนว่าความอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง ความชุ่มชื่นลดน้อยลง ไม่สามารถที่จะป้องกันการพังทะลายของดิน ปัญหาน้ำท่วมจะเกิดขึ้นจนยากที่จะเยียวยา
ในพระธรรมวินัยทางพุทธศาสนาได้มีข้อกำหนดให้สมณเพศได้ปฏิบัติข้อหนึ่งก็คือห้ามไม่ให้พระภิกษุพรากสิ่งเขียวออกจากต้น เป็นบัญญัติที่เราก็ไม่ได้ตระหนัก ที่่พระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ในเรื่องนี้ว่ามนุษย์จะมีการทำลายล้างป่าไม้แล้วจะเกิดผลกระทบจึงได้บัญญัติไว้ และผู้เขียนเชื่อว่าในศาสนาอื่นๆ เช่นกันก็คงจะมีบัญญัติในทางที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทางออกของโลก มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องหันหน้าเข้าหากันร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ และแน่นอนว่าคงจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ที่ตระหนักและรวมตัวกัน เป็นพลังสร้างสรรค์ในการรักษาโลกใบนี้ไว้ไม่ทางหนึ่งก็ทางใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น