หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อิทธิพลของทฤษฎีวิวัฒนาการตอน 1

สมัยเป็นนักเรียนเมื่อเราเรียนทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เรียนรู้เรื่องการคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติ และผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดสามารถที่จะอยู่รอดได้ เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าผู้ที่แข็งแรงที่สุดจะอยู่รอดได้ก็ไม่จริง จึงต้องแข็งแรงและต้องฉลาดด้วย บางคนแสดงความคิดเห็นว่าแข็งแรงก็ไม่ใช่ ฉลาดก็ไม่ใช่ ต้องปรับตัวเก่งที่สุดจึงจะใช่เลย ก็เลยคิดว่าเป็นการเล่นคำกันเสียมากกว่า เพราะคนที่จะปรับตัวได้ดีก็ต้องฉลาดด้วยแน่ แต่ถ้าจะใช้อีกคำหนึ่งว่ามีปัญญา หรือการพัฒนาให้มีปัญญาแล้วสามารถจะแก้ปัญหาได้ เพราะเคยมีผู้พยายามให้คำนิยามคำว่าปัญญาไว้ในลักษณะที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และไม่ทำให้ทั้งตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งจะต้องมีความรู้และความสามารถด้านต่างๆ นั่นเอง

การคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดตามทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวิน ถ้าตีความไปในแง่ดีก็ดูเหมือนกับทำให้เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม เหมือนกับว่าใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงแต่มีปัจจัยสี่เพื่อความอยู่รอด ในภาวะที่ผกผันอัตคัดขาดแคลนสัตว์โลกก็ต้องมีความพยายามมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด สัตว์ใดที่มีความอ่อนแอและไม่มีปัญญาพอที่จะเอาตัวรอดก็ตายไปไม่สามารถดำรงเผ่าพันธ์เอาไว้ได้ก็จะเหลือแต่เผ่าพันธ์ที่มีความเหมาะสมที่ยังคงอยู่ต่อไป แม้ว่าต่อมาภาวะขาดแคลนอัตคัดจะหายไปก็ตาม นอกจากนี้แล้วตามทฤษฎีของลามาร์คได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการว่า อวัยวะส่วนใดที่ไม่ได้ใช้ก็จะอ่อนแอและค่อยหายไป ถึงกับมีหลายคนเคยพูดไว้ว่าต่อไปมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้แรงงาน ไม่ได้ใช้แรงงานเลยต่อไปนิ้วมือคงจะมีเพียงนิ้วเดียวไว้กดปุ่มเท่านั้น อวัยวะส่วนไหนใช้บ่อยก็จะพัฒนาขึ้น ถ้าตามทฤษฎีนี้ก็มีส่วนถูกอยู่เหมือนกัน เช่นถ้าเราเป็นคนถนัดขวาแล้วเราใช้งานแขนขวามากกว่าแขนซ้ายแน่นอน ถ้าเปรียบเทียบระหว่างแขนซ้ายและแขนขวาจะเห็นได้ชัดเจนว่าแขนขวาโตกว่าแขนข้างซ้าย

ถ้ามาเทียบเคียงกับการทำงานของสมองในการคิดแล้ว ถ้าไม่ฝึกฝนการคิดบ่อยๆ ก็น่าจะพัฒนาการไปในทางที่ดี น่าจะเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาทางความคิดตามทฤษฏีพัฒนาการที่คิดแบบผู้ใหญ่คิดแบบนามธรรมได้ แต่จะคิดให้ได้ดีอย่างไรนั้นอยู่ที่การฝึกฝนเหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น