ในแวดวงการศึกษาที่ผ่านมานั้นได้มีการกล่าวถึงให้ผู้เรียนต้องคิดได้คิดเป็น และทำเป็นด้วยนั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการคิดเป็นสิ่งสำคัญและมีหลายรูปแบบ แต่ละศาสตร์อาจคิดต่างกัน อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นการคิดเป็นสำคัญ ดังสุภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ และในการคิดที่เป็นตัวร่วมของการคิดแบบต่างๆ นั้นคงหนี้ไม่พ้นการคิดอย่างมีเหตุผล และการคิดแบบวิพากษ์ (resoning thinking and criticalthinking) ทั้งนี้เพื่อให้ได้รูปแบบการคิดที่ดีสมบูรณ์การมีเหตุผลก็ต้องถูกต้องตามตรรกะ และคิดแบบวิพากษ์ได้นั้นก็ทำให้มีมีลักษณะกว้างรอบคอบ ละเอียดลออ เป็นที่เข้าใจกันว่าเป้าหมายของการศึกษานั้นคือต้องคิดได้อย่างมีเหตุผล และวิพากษ์ได้ เมื่อดูรวมๆ แล้วการคิดในลักษณะนี้ น่าจะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
สิ่งแรกน่าจะต้องมีการแสวงหากคำกล่าวอ้างถึงเรื่องราวที่สืบค้นมาได้ใหม่หรือปัญหา และแสวงหาเหตุผลยืนยันสนับสนุน โดยการพิจารณาสถานการณ์ทั้งหมด และพยายามที่จะคงเรื่องที่อยู่ในประเด็นของจุดสำคัญ และจะต้องมีเริ่องพื้นฐานอันเป็นจุดกำเนิดไว้ในใจ แล้วแสวงหาทางเลือก ที่เป็นไปได้ต่อไป
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผู้คิดต้องมีใจกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยมีจุดยืน (และเปลี่ยนจุดยืน) เมื่อมีหลักฐานหรือเหตุผลเพียงพอที่จะกระทำดังกล่าว แสวงหาความถูกต้องแม่นยำเท่าที่ทำได้ในเรื่องนั้นๆ ยอมให้ได้ โดยดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับตามองค์ประกอบของส่วนทั้งหมดที่มีความซับซ้อน ดังกล่าวมาแล้วเป็นการใช้ความสามารถการคิดวิพากษ์ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน
และสุดท้ายควรจะมีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ระดับความรู้ องศาของความประนีต ละเอียดลออ ซึ่งต้องอาศัยความสามารถการคิดวิพากษ์ของแต่ละคนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น