Piaget สนใจในการได้มาซึ่งความรู้ ทั้งในการพํฒนาการวิวัฒนาการของความรู้ในสปีชี (phylogeny) และ การพัฒนาการของความรู้ในแต่ละบุคคล (ontology) โดยเปียอาเจเรียกแนวทางใหม่นี้ว่า ญานวิทยาพันธุศาสตร์ (genetic epistemology) หรือบ่อเกิดของความรู้ โดยที่ epistemology ศึกษาในเรื่องความรู้และการการได้มา และจากภูมิกำเนิด (genetic) ตามที่ใช้อยู่ เป็นเข่นเดียวกับสำหรับการพัฒนาการ ดังนั้นญานวิทยาพันธุศาสตร์ (genetic epistemology) ก็คือการศึกษาเชิงการทดลองถึงการพัฒนาการของความรู้
ทฤษฏีของเปียอาเจเป็นเรื่องหนึ่งของหน้าที่การพัฒนาการ (development function) เพื่อแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของเปียอาเจยังไม่เพียงพอ เพราะว่ายังอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ไม่ชัดเจน
ในเรื่องการคิดของเด็ก ตามทฤษฎีเปียอาเจ ประชาน(cognition) พัฒนาการผ่านทางการปรับปรุงให้ดีขึ้น (refinement) และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจิต (mental structure) โครงสร้างในที่นี้อ้างถึงสิ่งที่ไม่อาจสังเกตได้ ความรู้ทางจิตที่อยู่ภายใต้ปัญญา (intelligence) และพฤติกรรมเชิงปัญญา (intelligent behavior) โครงสร้างโดยมากมองอย่างง่ายเป็นเหมือนกับความรู้ที่คงสภาพอยู่ได้ บนพื้นฐานของเด็กๆ ที่ตีความโลกของพวกเขาเอง โครงสร้างที่ให้ผลแทนถึงความเป็นจริง (reality) เด็กๆ รู้จักโลกของเขาในเทอมของโครงสร้างของพวกเขา
โครงสร้างเป็นวิธีที่ตีความประสบการณ์และการจัดระบบ ระเบียบ สำหรับเปียอาเจ การพัฒนาประชานหรือเรียกอีกอย่างว่าการพัฒนาการทางความคิด (scheme)เหมือนกับความก้าวหน้าในการพัฒนาการ เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้
ส่วนสำคัญหลักของทฤษฎีเปียอาเจคือหลักที่ว่าเด็กๆ มีความกระตือรือร้นเป็นคุณสมบัติประจำตัว โดยพวกเขาจะกระตือรือล้นที่จะเริ่มตั้นและเป็นผู้แสวงหาสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้น (seekers of stimulation) โครงสร้างจึงมีลักษณะประจำตัวภายในที่กระตือรือร้น และจะต้องมีการบริหารการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนั้นพวกเขาสามารถที่จะเพิ่มพลังความแข็งแกร็งและพัฒนา เราสามารถที่จะมองกิจกรรมประจำตัวเป็นเหมือนกับความอยากรู้อยากเห็นประจำตัว (intrinsic curiousity) เปียอาเจเชื่อว่าประชานคือกระบวนการสร้างสรร (constructive process) ตามทฤษฎีของเปียอาเจแล้ว เมื่อเด็กๆกระทำต่อโลกของพวกเขา พวกเขาตีความวัตถุและเหตุการณ์ที่อยู่รอบๆ ตัวในเทอมของอะไรก็ตามที่พวกเขารู้อยู่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น