นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคิดได้นำเสนอการศึกษาเชิงคุณภาพของความรู้ที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ ได้แก่ความรู้เชิงประกาศ ความรู้เชิงกระบวนการ ความรู้เชิงมโนทัศน์ (ประเภท แผนภูมิ สคริปซ์) การเทียบเคียงหรือแนวเทียบ และตรรกะ (รวมทั้งรูปแบบเชิงคุณภาพ) …ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบความรู้ที่กล่าวมาแล้วเรียกว่า ความรู้เกี่ยวกับความรู้ (metaknowledge)
เนื่องจากชนิดต่างๆของความรู้เหล่านี้ได้มาในแนวทางที่แตกต่างกัน การสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ จำเป็นต้องจัดการให้สอดคล้องกันเพื่อดูแลให้เกิดการพัฒนาในแต่ละชนิด
(1) ความรู้เชิงประกาศ (Declarative Knowledge)
ความรู้เชิงประกาศเกี่ยวข้องกับสารสนเทศของความจริงทั้งหลายสามารถที่จะส่งผ่านหรือสื่โดยการใช้สัญลักษณ์ ในการพูดหรือคำที่เขียนขึ้น เครื่องหมายหรือสัญกรณ์ทางคณิตศาสตร์ ภาษาท่าทาง หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ความรู้เช่นนี้มักจะได้มาจากการอ่านหนังสือ ฟังเลคเชอร์และการสนทนา ภาษาเครื่องหมาย การใช้อักษรเบรลล์ของคนตาบอด และรูปแบบอื่นๆ ของการพูดคุย การมองเห็น ภาษาเชิงประกาศมักจะส่งผ่านไปในรูปของการจัดการศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด แต่ไม่ได้สื่อในเรื่องของความหมายแต่เป็นเรื่องของความจริง
(2) ความรู้เชิงการะบวนการ (Procedural Knowledge)
ความรู้เชิงกระบวนการจัดอยู่ในรูปของลำดับการกระทำ ซึ่งแสดงได้ง่ายแต่ยากต่อการจัดให้สัมพันธ์ในเชิงประกาศ ความรู้เชิงกระบวนการส่วนใหญ่อยู่ในจิตใต้สำนึกและเป็นอัตโนมัติ ความรู้ชนิดนี้มีอยู่อันเป็นผลจากการฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ แต่ความรู้เริ่มต้นอาจจะอาจจะอยู่ในรูปของเชิงประกาศ
(3) ความรู้เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge)
ความรู้เชิงมโนทัศน์มี 2 ชนิดคือ
(1) บอกได้เป็นชนิดหรือประเภท
(2) บอกได้เป็นแผนภาพ หรือแผนผังร่าง (schematic) ความรู้เชิงมโนทัศน์เป็นชนิดของความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการอุปนัย (inductively) ตัวอย่างเช่นการบอกประเภทหรือชนิด เช่นที่เราทราบเกี่ยวกับรถยนต์โดยทั่วไป และลักษณะที่แตกต่างจากรถจักรยานหรือเครื่องบิน
การบอกเป็นแผนภาพหรือโดยแผนผัง จะเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง เนื้อที่ เช่นเลย์เอ้าของรถยนต์ หรือเราทราบเกี่ยวกับสคริปซ์ทั่วไปในการขับรถยนต์ ความรู้เชิงมโนทัศน์ จึงเป็นความรู้ที่เราสร้างขึ้นเพื่อตัวเองจากประสบการณ์ของตัวเอง
(4) ความรู้เชิงเทียบเคียง (Analogical Knowledge)
ความเทียบเคียงหรือแนวเทียบเป็นชนิดของความรู้ที่คงสภาพที่ตรงกันเป็นการเฉพาะระหว่างสิ่งที่อยู่ในโลกภายนอกกับสิ่งที่อยู่ในหัวหรือความคิดของเรา ตัวอย่างเช่นความรู้เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับหน้าตาของพ่อแม่ไม่ได้เป็นชนิดทั่วไป และไม่ใช่ความรู้เชิงประกาศ ที่พ่อแม่ของเราจะแตกต่างไปในทางวัฒนธรรมอย่างไร หรือไม่ใช่ เป็นความรู้เชิงกระบวนการที่พ่อหรือแม่มีปฏิสัมพันธ์กับเรา ความรู้แบบเทียบเคียงจากแม่ของเราคือความรู้ที่ยึดถือไว้และคงสภาพของแม่ของเราหนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนใคร
(5) ความรู้เชิงตรรกะ (Logical Knowledge)
ความรู้เชิงตรรกะแตกต่างไปจากความรู้เชิงกระบวนการเพราะว่า ความรู้นี้เกิดจากการให้เหตุผลโดยตัวเอง ไม่ได้มาจากทักษะ หรือได้มาโดยอัตโนมัติ ความรู้เชิงตรรกะมีลักษณะรู้ได้จากความจำ ความรู้เชิงตรรกะต่างจากความรู้เชิงมโนทัศน์เช่นกัน ซึ่งอาจจะไม่มีการหาเหตุผลเบื้องหลัง เราสามารถที่จะสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งใดๆ การกำหนดตามนั้นทำให้เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินการทางตรรกะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น