หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการคิดเพื่อการเรียนรู้

กระบวนการคิด เกี่ยวข้องกับ 2 กลุมที่คาบเกี่ยวกันต่อไป กลุ่มแรกประกอบด้วย การเกิดมโนทัศน์ หลักการ(concept and principle formation) และความเข้าใจ(comprehension) อีกกลุ่มหนึ่งประกอบด้วย การแก้ปัญหา (problem solving) การวิจัย(research) การประมวลร้อยเรียง (composing) และการตัดสินใจ (decision making) ในส่วนที่คาบเกียวนันส่งผลออกมาในทางถ้อยความเกี่ยวเนื่องหรือวาทกรรม ในการพูดคุยสนทนา


ในกระบวนการคิด เกี่ยวข้องกับอะไรก็ตามที่เราเรียกว่าทักษะการคิด อย่างง่ายๆ ก็เกี่ยวข้องกับการดำเนินการคิด เช่นการสังเกต การเปรียบเทียบ หรือการอนุมาณ (inferring)

การสร้างให้เกิดมโนทัศน์ และหลักการ และความเข้าใจ ปรากฏเด่นชัดว่าเป็นยิ่งกว่าการชี้นำโดยตรงให้ได้มาซึ่งความรู้ การเกิดมโนทัศน์เป็นรากฐานสำหรับการเกิดกระบวนการอื่นๆ ผู้เรียนจะต้องเกิดมโนทัศน์หลักก่อนที่สามารถเข้าใจสารสนเทศที่จัดโครงสร้างอย่างรัดกุมกระชับ

ทำนองเดียวกัน การเกิดหลักการและความเข้าใจอาจจะเป็นรากฐานของกระบวนการอื่นๆ ตามเวลาที่ผ่านไปเด็กๆ ผู้เรียนเริ่มทีจะสร้างหลักการ ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มโนทัศน์หรือมากกว่า

ผู้หนึ่งใดที่ดำเนินการวิจัย หรือเข้าร่วมในการอภิปราย จะเป็นผู้ที่ไม่มากก็น้อยได้กระทำการอย่างอย่างวิพากษ์วิจารณ์ (critically) หรืออย่างสร้างสรรค์ (creatively) ทั้งการคิดแบบวิพากษ์และสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นกระบวนการที่แยกกันโดยเด็ดขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น