หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการเรียนรู้และภาวะผู้นำ

การวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยา (neuroscience) เมื่อไม่นานมานี้ และการพัฒนาทางความคิด (cognitive development) ได้ให้ผลเป็นความเข้าใจใหม่ๆเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้บนพื้นฐานที่คิดให้สมองของคนมีความซับซ้อน ปรับตัวได้กว้างขวาง เป็นระบบที่มีการจัดการตัวเองให้สมดุลย์ จากความเข้าใจใหม่นี้ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นการสร้างความรู้ อย่างกระตือรือร้น(active construction of knowledge) โดยนำสารสนเทศใหม่ที่แต่ละคนได้รับไปเปรียบเทียบกับ สิ่งที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในความพยายามที่จะค้นหาความหมายและรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เชิงทดลอง ที่มีรูปแบบหลากหลายแบบพหุปัญญา (multiple intelligence) และบริบททางอารมณ์และสังคมอันเป็นที่เกิดของความรู้


ความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวได้เสนอแนะยุทธวิธีการสอนที่สอดคล้องกันกล่าวคือ ข้อเสนอในการออกแบบหลักสูตรที่เน้นความรู้เชิงบริบท มองเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สนับสนุนเนื้อหาหลักที่เน้น ซึ่งก็เป็นแนวทางอันเป็นอุดมคติเพื่อให้เกิดการบูรณาการศาสตร์ ลักษณะเช่นนี้เป็นไปในแนวทางการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้แบบโครงการ (project base learning) อันประกอบด้วยสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ยึดเอางานในโครงการที่เป็นโลกของความจริงเป็นฐาน ที่มีความซับซ้อนสูง อาจจะเป็นสวนต้นไม้ในโรงเรียน เครื่องจักรในโรงงาน หน่วยปฏิบัติการในสถานพยาบาล หรือการพัฒนาแหล่งน้ำในสถาบัน ซึ่งผู้เรียนจะต้องพัฒนาทักษะและประยุกต์ใช้ความรู้

หลักสูตรที่บูรณาการดังกล่าวนี้ มีโครงสร้างเชิงนิเวศ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อโรงเรียนจะต้องเป็นชุมชนการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งมีครู ผูเรียน ผู้บริหาร ผู้ปกครองร่วมมือกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ชุมชนการเรียนรู้ลักษณะนี้การสอนไม่ได้มาจากบนลงล่าง (top down) แต่มีลักษณะเป็นวงจรที่แลกเปลียนข้อมูลสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้และทุกคนในระบบเป็นทั้งครูและนักเรียน ในกระบวนการเรียนรู้มีการประเมินย้อนกลับเป็นวงรอบ (feed back loop)เป็นคุณสมบัติประจำตัว และผลการประเมินย้อนกลับนี้จะกลายเป็นวัตถุประสงหลักของการประเมินผล การคิดเชิงระบบจึงเป็นแบบฉบับที่จะทำให้เข้าใจหน้าที่ของชุมชนการเรียนรู้ และความจริงแล้วหลักการทางนิเวศวิทยาสามารถตีความให้เป็นหลักการของชุมชน

สุดท้ายแล้วการมองเชิงระบบในการเรียนรู้ การสอน การออกแบบหลักสูตร การประเมินผลสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติของการเป็นผู้นำเป็นการเฉพาะ ด้วยการเป็นผู้นำแบบใหม่นี้ได้รับแรงบันดานใจจากการค้นพบคุณสมบัติที่สำคัญมากของระบบชีวิต และเมื่อไม่นานมานี้ได้ชี้ให้เห็นว่าทุกระบบชีวิตเป็นครั้งคราวจะก้าวเข้าสู่จุดที่ไม่มั่นคง มีส่วนของระบบโครงสร้างเดิมล่มสลายลง และจะเกิดโครงสร้างใหม่ มีรูปแบบใหม่ของพฤติกรรม เป็นเครื่องหมายหักเหที่สำคัญของชีวิต หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากความคิดสร้างสรรค์ มีการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็นคุณสมบัติหลักของระบบสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

ดังนั้นการมีภาวะผู้นำจึงอยู่ในขอบเขตที่กว้าง เป็นตัวช่วยให้เกิดโครงสร้างใหม่ โดยมีการร่วมมือประสานกันเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดในขณะนั้น โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบองค์กร ที่จะปรับเปลี่ยนหรือเกิดขึ้นใหม่ การเป็นผู้นำในเชิงระบบลักษณะนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่สามารถจะกระจายความรับผิดชอบ ให้กลายเป็นศักยภาพรวมของทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น