หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เหตุเกิดที่พม่า

การต่อต้านขัดขืนของประชาชนที่มีพระเป็นผุ้ริเริ่มในคราวนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลการปกครอง ของรัฐบาลเผด็จการว่า ทั้งที่มีทรัพยากรในประเทศมากมายแต่การจัดสรรผลประโยชน์อย่างไม่สมดุล หรือไม่เป็นธรรม ทำให้ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ยากจนมากประเทศหนึ่ง ดูได้จากประชาชนลี้ภัย หรือความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นมาอาศัยในประเทศไทยจำนวนมาก ถ้าจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุนั้น คงจะไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริง เหมือนกับทฤษฎีวิวัฒนาการกับความเชื่อทางศาสนาบางศาสนาที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้าง ก็เถียงกันไม่เป็นที่สิ้นสุด แต่ที่พระออกมาเดินขบวนแทนที่จะเป็นกระบวนการนักศึกษาและประชาชน เหมือนคราวที่แล้วที่ทหารออกมาปราบปรามทำให้นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตไปหลายคน และที่ลี้ภัยในประเทศไทยก็มักตั้งแต่บัดนั้น


ไม่มีใครคาดคิดว่าทหารจะฆ่าพระ หรือทุบตีพระซึ่งเป็นเพศบรรพชิตที่คงจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นผู้นำการประท้วงก็จำเป็นต้องปราบ เราไม่รู้ว่าพระจะถูกกระท่ำทารุนกรรมอย่างไร จะถูกฆ่าตายหรือไม่ แต่ที่สามารถฆ่าพระได้นั้นทหารที่มากระทำก็เข้าข่าย คล้ายๆกับที่เคยมีทหารจากต่างจังหวัดมาปฏิบัติการตอนพฤกษาทมิน เพราะชาวพุทธก็ต้องเชื่อตามหลักกาลามสูตร ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แม้ว่าจะมีข่าวออกมาว่าพระหายไปจากวัดในพม่าจำนวนมาก ตามหลักของพุทธศาสนานั้นไม่ให้จองเวรกัน ไม่แก้แค้นกันจะเป็นผุ้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียวตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แต่ก็มีความเชื่อตามกฏแห่งกรรมว่า ทุกอย่างมีวิบากกรรม ทำอะไรได้อย่างนั้นไม่ภพนี้ก็ภพหน้า ด้วยการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมไม่ถูกต้อง ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ช่วยกันก็จะกลับมาทำล้ายล้างมนุษย์เอง

ถ้าย้อนไปตั้งแต่พระเจ้าธีบอร์กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกเนรเทศไปอยู่อินเดีย และให้พม่าเป็นเหมือนจังหวัดหนึ่งของอินเดีย และหลังสงครามโลกครั้งที่สองนายพลออกซานผู้เป็นบิดาของอองซานซูจี มีอำนาจและถูกฆ่าตายจากการแย่งชิงอำนาจ อองซานซูจีบุตรนายพลออกซานกลับบ้านเกิดมาดูแลมารดาก่อนเสียชีวิตหลังจากไปอยู่ประเทศอังกฤษและแต่งงานกับชาวอังกฤษ ซึ่งในส่วนลึกของคนพม่าคงจะไม่พอใจอังกฤษอยู่สมัยที่มายึดประเทศพม่าในยุคการล่าอาณานิคม แม้จะตั้งพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งแล้วทหารก็ไม่ยอมลงจากอำนาจไม่ยอมให้พรรคชนะการเลือกตั้งนางขึ้นปกครองประเทศ แถมต่อมายังถุูกกักบริเวณ เกือบถูกฆ่ามาแล้ว แต่ประชาชนจำนวนมากยังสนับสนุนแต่ไม่อาจต่อสู้ได้กับอำนาจทหารที่ได้แซกซึมไปทั่วทุกวงการแล้ว ประชาชนจึงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอำนาจทหาร

จำได้ว่าประเทศพม่าได้นำการปกครองแบบสังคมนิยมมาใช้ ที่ทุกอย่างเกือบเป็นของรัฐหมด ประชาชนค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเป็นกิจการใหญ่ก็อยู่ไม่ค่อยได้ อาจต้องเสียภาษีรูปแบบต่างๆ ให้รัฐบาลทหาร ที่ดินในพม่ายังรกร้างว่างเปล่ามากมาย แต่ไม่มีประชาชนไปใช้ที่ดินให้เกิดประเโยชน์ ซึ่งเป็นอาการเดียวกันที่ไม่รู้ว่าจะทำให้ใคร เหมือนกับความล้มเหลวในประเทศสังคมนิยม และคอมมิวนิสเมื่อก่อน การไม่มีใครกล้าทำอะไรเศรษฐกิจก็เลยล่มสลายไป แม้ว่ารัฐบาลทหารจะทำธุรกรรมกับต่าง ประเทศไว้มากเช่นสิงคโปร์ไปลงทุนต่างๆ มากมาย ประเทศไทยบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมที่เกี่ยวโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยก็มีอยู่ และอีกหลายประเทศ แม้แต่ประเทศจีนเองก็ยังคิดว่าประเทศพม่าโดยประชาชนต้องแก้ปัญหากันเอาเองโดยปราศจากการแทรกแซง แต่ว่าอีกนานเท่าไรนั่นแหละครับถึงจะหมดกรรมไปบ้าง

เคยดูรายการทีวีไทยที่นำผู้มีชือเสียง และรู้เรื่องพม่ามาพูดและพูดว่า พม่าเคยยกเลิกเงินจาดและใช้เงินอันใหม่ที่พิมพ์ขึ้น อย่างไม่มีเหตุผล การกักขังนางออกซานซูจีว่าไม่มีเหตุผล ผมคิดว่า มีเหตุผลทั้งนั้น เพราะพม่านั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม และทำสงครามกองโจรกับรัฐบาลพม่า ตามชายแดนไทยซึ่งกองกำลังเหล่านี้อาจหาเงินหล่อเลี้ยงโดยการค้ายาเสพติด ซึ่งได้เงินจำนวนมากซึ่งพม่าทราบดีว่าจะปราบพวกนี้ได้ก้ต้องทำลายเศรษฐกิจโดยการยกเลิกเงินที่ใช้ทำให้เงินที่พวกชนกลุ่มน้อยถือครองอยู่หมดความหมายไปทันที่ แต่ก็ได้ทำให้ประชาชนพม่าส่วนหนึ่งได้รับความเดือดร้อนไปด้วย หรือเขามีมาตรการช่วยอย่างไรก็ไม่ทราบได้ ส่วนกรณีของนางอองซานซูจีนั้น คงมีเหตุผลเดียวคือกลัวจะไปเคลื่อนไหวสร้างกระแสต่อต้านรัฐบาล แต่ในทางที่กลับกันผู้ที่สนับสนุนอาจไปเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น