หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จากโทรศัพท์มือถือสู่เครื่องมือเอนกประสงค์

ก่อนอื่นต้องขอยกคำกล่าวของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Winston Churchill ที่ว่า “ยิ่งมองกลับไปในอดีต คุณก็จะเห็นว่ามีการก้าวไปข้างหน้ามากเพียงใด” ในการพัฒนาโทรศัพย์จากโทรศัพท์บ้านมาเป็นโทรศัพย์เคลื่อนที่ในยุคแรกๆ จะเห็นถึงเครื่องเคราขนาดใหญ่ ทั้งตัวเครื่องและยังต้องแบกแบตเตอร์รีไปด้วย แม้ว่าจะมีขนาดอุ้ยอ้ายราคาแพงอยู่ในหลักแสนบาท แต่ก็ยังมีคนซื้อหามาใช้ แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีโทรศัพท็แบบเคลื่อนที่ก็มาเป็นแบบพกติดตัวเป็นมือถือดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


โทรศัพท์มือถือดังที่เราใช้กันในปัจจุบันนอกเหนือจากการพูดคุย แล้วยังสามารถส่งข้อความถึงกันได้ รวมทั้งฝากเสียงพูดไว้คล้ายกับการบันทึกเทปไว้ให้ผู้รับได้มาเปิดฟังทีหลังได้ และยังสามารถบันทึกเบอร์โทรศัพท์ที่โทรบ่อยๆ เบอร์โทรศัพท์ใดที่เราบันทึกไว้แล้วก็จะโชว์เบอร์ โชว์ชื่อผู้โทรล่วงหน้าทำให้ทราบว่าจะรับโทรศัพท์หรือจะโทรกลับภายหลังได้ ซึ่งเครื่องจะบอกเราได้หมดว่า เราหมุนโทรศัพท์ไปหาใคร ใครโทรมาแล้วเราไม่รับ หรือใครโทรมาล่าสุด ที่กล่าวมานั้นเป็นบริการที่โทรศัพท์มือถือมีให้ทุกเครื่อง

ระบบเสียงเรียกเข้า เสียงรอให้ผู้โทรฟังก่อน จะให้เป็นเสียงอะไรให้เลือกมากมาย เป็นเสียงดนตรี บ้าง ใส่เสียงตัวเองเข้าไปก็ได้ เสียงหวอ เสียงรถดับเพลิงเสียง นก ก็มีให้เลือกมากมาย ระบบจำเสียงพูดเช่นจะโทรถึงใครก็เพียงแต่เอ่ยชื่อผู้ที่จะโทร เครื่องจะหมุนโทรศัพท์ให้ทันที นอกจากนี้ยังมีระบบเครื่องขยายเสียงสามารถฟังเสียงผู้โทรได้เลยให้ได้ยินกันทุกคนก็ได้

ความสามารถด้านการแสดงผลเช่นมีจอสี จอขาวดำ สามารถตั้งบอกเวลาลักษณะต่างๆ รวมทั้งการแสดง วันเดือนปีปัจจุบัน ตั้งปลุก แบบสนูสซ์ (snooze) ตั้งบอกเวลาเป็นเสียงพูด และยังมีเครื่องคิดเลขในตัว

ที่กล่าวมาแล้วเป็นบริการที่มีให้มาเกือบทุกเครื่อง แต่การพัฒนาโทรศัพท์ยังไม่หยุดยั้งอยู่แค่นี้แต่ได้เพิ่มความสามารถด้านอื่นๆ ที่ทำให้โทรศัพท์มือถือ เปลี่ยนรูปโฉมเป็นเครื่องดูหนัง ดีทีวี ฟังวิทยุ ถ่ายรูป วิดีโอสคริปซ์ เป็นเครื่อง GSP เป็นเครื่องเล่นเกมส์ รวมเอาเครื่อง PDA (Personal Device Assistance) หรือคอมพิวเตอร์พ็อกเก็ตพีซีไว้ในตัว ใช้ในการเล่นอินเตอร์เนตก็ได้ เป็นอีบุคสำหรับอ่านหนังสือก็ได้ เป็นเครื่องนัดหมายต่างๆ ที่เรียกว่า organizer เชื่อมต่อกับกับคอมพิวเตอร์ ต่อกับจอทีวีก็ได้ ดังนั้นจะเห็นว่าโทรศัพท์มือถือได้ดัดแปลงไปเป็นเครื่องใช้เอนกประสงค์มากขึ้นทุกที่ ใช้เป็นเครื่องมือควบคุมระยะไกลก็ได้ ทำหน้าที่เหมือน remot control ควบคุมอุปกรณ์บางอย่างได้ ที่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีก็ไปจุดฉนวนระเบิด แต่ถ้าเราจะนำมาใช้ควบคุมในการดูแลรักษาความปลอดภัยก็น่าจะได้

มหาวิทยาลัยบางแห่งให้นักศึกษาอ่านข้อมูลต่างๆ ของมหาวิทยาลัยผ่านทางมือถือ ได้ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทางไกลทั้งฟังวิทยุดูภาพเป็นต้น บทเรียนบางอย่างนักศึกษาต้องซื้อเมมโมรีสติก มาเสียบที่เครื่องโทรศัพท์ ใช้บันทึกภาพที่ถ่ายก็ได้บันทึกเสียงการพูดก็ได้

อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือต้องใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี ยิ่งใช้งานที่ต้องใช้เสียงดัง หรือดูภาพที่มีแสงมาก ก็ย่อมเปลืองแบตเตอร์รี ทำให้แบตเตอร์รีอายุสั้นลงได้ แม้ว่าจะชาร์ตแบตเตอร์รีได้แต่ก็มีอายุการใช้งาน เครื่องชาร์ตแบตเตอร์รีก็มีให้มาเมื่อตอนซื้อเครื่อง ตอนหลังนั้นได้ออกแบบเครื่องชาร์ตกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตยูเอ็สบีได้เลย ก็ไม่จำเป็นต้องพกพาเครื่องชาร์ตอีกต่อไป เพราะหาเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ได้ง่าย หรือเมื่อคุยนานๆก็เสียบดึงพลังงานไฟฟ้าผ่านช่องยูเอ็สบีของคอมพิวเตอร์ได้เลย ในอนาตคงจะต้องหาแนวทางทำอย่างไรไม่ต้องชาร์ตก็ใช้โทรศัพท์ได้ โดยดึงพลังงานจากอากาศ และจากแสงในที่ร่มมาเป็นพลังงานของโทรศํพท์ให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น