หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มรรคในอริยสัจสี่

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้แสดงธรรมอันเป็นสัจธรรม 4 ประการที่เรียกว่า อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกช์ สมุทัย นิโรจน์ และมรรค ซึ่งแต่ละคู่เป็นผลและเหตุของผล สมุทัยเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ และ มรรคเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการดับทุกข์หรือนิโรจน์ เรารู้จักกันดีว่ามรรคเป็นหนทางหรือวิธีการแห่งการดับทุกข์ 8 ข้อ หรือที่เรียกกันว่ามรรคมีองค์ 8 เมื่อพิจารณา 2 ข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ โดย


สัมมาทฺฏฐิหรือความเห็นชอบ สำหรับการเห็นชอบทางพุทธศาสนาจะไปในทางที่เป็นข้อธรรม เช่นการเห็นว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

สัมมาสังกัปปะหรือดำริชอบ ส่วนการดำริชอบหรือเป็นการคิดชอบ เช่นความคิดที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นคิดที่จะออกจากกาม คิดที่จะไม่เบียดเบียน ไม่ปองร้าย พยาบาท ทั้งตัวเองและผู้อื่น

ซึ่งมรรคสองข้อแรกนั้นยังไม่ไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง การเห็นชอบจึงไม่ได้ลึกซึ้ง เป็นเหมือนการรับรู้ สำหรับดำริชอบต้องนำสิ่งที่เห็นที่รับรู้มาประมวล ไตร่ตรอง เพื่อให้คิดได้ถูกต้อง คิดดีและไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งการเห็นชอบ การดำริชอบนั้นนำไปสู่การกระทำในมรรคอื่นๆ อีกอันได้แก่

สัมมาวาจา หรือวาจาชอบหรือพูดชอบซึ่งก็ต้องพูดดีพูดสุภาพ ไม่พูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ

สัมมากัมมันตะ หรือการงานชอบ ก็คงต้องเป็นงานที่มี การเห็นชอบ ดำริชอบและวาจาชอบ สรุปได้ว่าเป็นการงานที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น การงานที่ไม่ชอบที่เอาเปรียบผู้อื่นทำลายผู้อื่น เช่นการค้ามนุษย์ การค้ายาเสบติด

สัมมาอาชีวะ หรือหาเลี้ยงชีพชอบ ทำนองเดียวกันที่ต้องมีมรรคที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนดจึงจะเป็นผู้หาเลี้ยงชีพชอบ

สัมมาวายามะ หรือความเพียรชอบ เช่นเดียวกันจะเป็นความเพียรที่ชอบที่ต้องเป็นไปตามมรรคที่กล่าวมาแล้ว

สัมมาสติ หรือการมีสติชอบหรือละลึกชอบ การมีสติชอบเป็นไปตามมรรคที่กล่าวมาแล้ว

สัมมาสมาธิ หรือมีความตั้งใจชอบ มีความตั้งใจอยู่ในองค์มรรคที่กล่าวมาแล้ว มีความมุงมั่นที่จะดับทุกข์ ทรั้งทางโลกและทางธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น