หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เสรีภาพกับวิทยาศาสตร์

การทำความเข้าใจโลกเอกภพโดยรอบตัวเราเองนั้น จัดได้ว่าเป็นเป้าหมายของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เป็นเหตุให้การคงอยู่ของสถาบันการศึกษาทั้งหลายเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ความอิสระเสรีภาพ และความสมบูรณ์ในทรัพยากรของสังคม เราจำเป็นต้องรู้ถึงการดำรงหล่อเลี้ยงความมีอิสระนี้ ว่าคงต่อไปได้อย่างไร ความก้าวหน้าของมนุษย์ชาติในทุกด้านได้ผู้ติดกับเสรีภาพ ความก้าวหน้าทางปัญญาจะถูกกระทำให้หวั่นไหวเมื่อเสรีภาพในการกระทำและแสดงออกถูกจำกัดลง เมื่อไรที่มีข้อเสนอแนะที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือที่ยึดถือกันมาเป็นเวลานาน การตอบสนองของคนจำนวนมากทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดอย่างอิสระจำกัดลงในทางที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้วอย่างจำกัดด้วย ดังนั้นการขาดเสรีภาพและการกลัวการเปลี่ยนแปลงจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

การยืนกรานตามข้อกล่าวอ้างที่มีมาก่อนนั้น มีรากฐานมาจากความเชื่อในเรื่องลึกลับ ไม่ใช่มาจากความรู้ตัวในการเสนอความจริง ความลึกลับทำให้เสรีภาพหวั่นไหวมากกว่าการพูดโกหก ซึ่งศรัตรูที่สำคัญของความจริงไม่ใช่เกิดจากการปิดปัง จงใจ เจตนา การไตรตรอง เล่ห์กล และความไม่ซื่อสัตย์ แต่เป็นสิ่งลึกลับ ความไม่รู้ยังคงอยู่สอดแทรกอยู่ทุกหัวระแหงในปัจจุบัน และในทุกที่ที่ยังมีอิทธิพลต่อความคิดของคนทั่วโลก

เสรีภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฏหมาย แต่ต้องการให้สาธารณะชนเข้าใจและซาบซึ้งกับความคิดอย่างมีเหตุผล เหตุผลจึงเป็นจิตวิญญาณของวิทยาศาสตร์ ทันทีที่มีการใช้ระบบเผด็จการหรือคณาธิปไตยที่สอดแทรกไปทั่วชุมชนไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่กระทบ ดังเช่นถ้าสังคมเราละทิ้งซึ่งความมีเหตุผล สังคมใดได้รับหรือสนับสนุนเรื่องที่ไม่มีเหตุผลได้ก็พร้อมที่จะสนับสนุนเรื่องที่ไม่มีเหตุผลอื่นๆ ได้อีก การเจริญก้าวหน้าทางด้านปัญญา ศิลป และวิทยาศาสตร์คงต้องหยุดลง นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวรัสเซีย ที่เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน Andrei Sakharov (1921-1989) เขาเคยได้เขียนไว้ครั้งหนึ่งว่า “เสรีภาพทางปัญญาเป็นแก่นหลักของสังคมมนุษย์ เสรีภาพในการคิดเป็นเพียงการประกันได้ว่าไม่ได้ลุ่มหลงมัวเมากับการเชื่อในสิ่งลึกลับ สิ่งซึ่งผู้มีอำนาจและเผด็จการอาจนำไปใช้เป็นเครื่องมือนำมาซึ่งความรุนแรงและการนองเลือด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น