หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

GDP บอกอะไรเราบ้าง

จีดีพี (GDP)หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) ได้แก่การผลิตสินค้าและบริการที่ชื้อขายในตลาดในเวลา 1 ปี ในทางเศรษฐศาสตร์ได้นำค่าตัวเลขของจีดีพีมาวัดการเติมโตทางเศรษฐกิจ เช่นว่าปีนี้จีดีพีเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ก็แสดงให้เห็นว่าเรามีรายได้มวลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ เช่นเมื่อปี 2547 เรามีจีดีพี 5.8 ล้านๆ บาท ประชากรจำนวน 63 ล้านคน เมื่อหารด้วย 63 ล้านจะได้รายได้ต่อปี และหารด้วย 12 จะได้รายได้แต่ละคนต่อเดือน ก็ตกอยู่ประมาณ 7200 บาทต่อเดือน ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขโดยเฉพาะเฉลี่ยทั้งประเทศ ที่นำคนที่มีรายได้ต่อปี 10000 ล้าน 100 ล้านมาเฉลี่ยด้วย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมด้าที่เรายังพบว่ามีคนจนที่มีรายได้ไม่ถึง 7200 บาทอยู่จำนวนมาก ที่ทราบกันมากกว่า 10 ล้านคน

ดังนั้นค่าจีดีพีไม่ได้สะท้อนการมีรายได้ของประชากรอย่างแท้จริง เพราะขณะที่จีดีพีเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ในระบบทุนนิยม นักธุรกิจอาจจะมีรายได้เพิ่มมากกว่า 50 เปอร์เซ็น ประชาชนบางกลุ่มอาจมีรายได้เพิ่มไม่ถึง 5 เปอร์เซ้นต์ และอาจจะมีบางกลุ่มรายได้ลดลง ดังที่พูดกันว่ายิ่งพัฒนาในระบบทุนนิยมยิ่งทำให้ยากจนลง เพราะกระตุ้นให้คนบริโภคใช้จ่ายมากขึ้น จะได้ผลิตสินค้าได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรง บางทีก็ไม่คุ้มกับที่เสียไป

เมื่อนำค่าจีดีพีของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์เมื่อสามสี่ปีที่แล้ว ประเทศได้มีจีดีพี 5.5 ล้านล้านบาทขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีจีดีพี 4.5 ล้านล้านบาท โดยที่ประชากรประเทศไทย 60 กว่าล้านขายสินค้าและบริการได้ 5.5 ล้านบาท ขณะที่คนสิงคโปร์ 3 ล้านกว่าคนขายสินค้าและบริการได้ 4.5 ล้านบาท ดังนั้นโดยเฉลี่ยคนสิงคโปร์มีรายได้สูงกว่าประเทศไทยมากไม่น้อยกว่า 20 เท่า อาจกล่าวเล่นๆ ว่าคนสิงคโปร์ทำงานหนักว่าคนไทยถึง 20 เท่า แต่ที่ว่าทำงานหนักนั้นไม่ได้หมายความว่าใช้แรงงานในการทำงาน แต่ใช้สมองความรู้ความสามารถในการทำงาน เช่นจ้างแรงงานต่างชาติมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้เครื่องจักรมาช่วยในการผลิตมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงงานมากมายแต่ก็ต้องคิดทำงานแก้ปัญหาแน่นอน ความเครียดน่าจะมากกว่า

อย่างไรก็ตามการคิดค่าจีดีพีในทางเศรษฐศาสตร์ จากเงินลงทุน บวก ค่าใช้จ่ายบริโภคมวลรวม บวก ค่าใช้จ่ายภาครัฐ บวกกับผลต่างระหว่างค่าสินค้าส่งออกและนำเข้า จากสูตรการคิดดังกล่าวนี้ทำให้ทราบว่าทำไมการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเหมือนเป็นสูตรสำเร็จว่าจะต้องกระตุ้นการส่งออก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการลงทุน และแอบส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศให้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ในภาวะที่หุ้นตก การลงทุนก็ลดลง และถ้ารัฐใช้แนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง การบริโภคก็ลดลง การใช้จ่ายภาครัฐก็ลดลง ตัวที่จะทำให้จีดีพีดีขึ้นก็เห็นแต่ภาคการส่งออก ซึ่งก็มีส่วนให้มีการบริโภคภายในประเทศด้วย และที่เราประหยัดกันให้มากในด้านสั่งสินค้าฟุ่มเฟือย ลดการใช้น้ำมันลงก็ช่วยจีดีพีให้เพิ่มขึ้นเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจีดีพีจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใดก็ตามไม่ได้เป็นตัวชีวัดว่าคน ประชากรของประเทศมีความสุข ถ้าการกระจายรายได้ยังไม่เป็นธรรม และปัญหาอาชญกรรมและอุบัติเหตุทางบกยังสูงติดอันดับโลก ปัญหามลภาวะยังคงมีอยู่ ปัจจุบันจึงมีตัวชีวัดด้านความสุขเพิ่มเข้ามาผู้เขียนจะเล่าให้ฟังอีกครังหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น