ในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาได้เปลี่ยนวิธีการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ให้สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น ผู้สอนจึงเป็นเหมือนผู้ชี้แนะชี้แหละศึกษาค้นคว้า มากกว่าจะเป็นการบรรยายเพียงอย่างเดียว ดังนั้นนิยามใหม่ของผู้รู้สารสนเทศจึงเป็นความสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งสาระสนเทศที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างหนึ่งอ้นเป็นความพยายามที่จะมุ่งให้การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับการเป็นผู้รู้สารสนเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประกาศให้รางวัลแก่ผู้ที่เข้าไปสืบค้นฐานข้อมูล มากที่สุด และหนึ่งในนั้นที่ได้รับรางวัลก็เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชที่ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ผลพวงจากที่ได้สืบค้นฐานข้อมูลนั้น ก็คงนำมาใช้ในการเขียนบทความทางวิชาการ นำมาเขียนโครงการวิจัยหรือข้อเสนอโครงการวิจัย ซึ่งส่งผลให้ สามารถเขียนบทความไปลงในวารสารระดับชาติ และได้รับพิจารณาให้ได้รับทุนวิจัยจากวช.ในปี 2553 นอกจากนี้ยังทราบว่าบทความของอาจารย์ยังได้รับการยอมรับให้ไปเสนอปากเปล่า ในเวทีนำเสนอผลงาน วทท. ที่พัทยาในเดือนตุลาคม นี้อีกด้วย
 

จากผลพวงของการสืบค้นฐานข้อมูล จนเป็นผู้รู้สารสนเทศ (information literacy) ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การเป็นผู้รู้สารสนเทศ จะทำให้เป็นผู้ที่ก้าวทันโลก ในเรื่องที่สนใจ และที่สำคัญก็คือเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ทันเหตุการณ์  ก่อให้เกิดการต่อยอดความรู้ ขยายความรู้ให้กว้างออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเครื่องมือที่ดีที่สุดก็คือเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์โลกที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตนั่นเอง  นับเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพิ่มความเร็วขึ้นอีก  5-6 เท่าตัวจากที่วิ่งด้วยความเร็ว 10 mb. เพิ่มขึ้นกับขั้วสายที่ไปเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัย อีก 50 mb ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏของเรามี แบนด์วิดท์รวม 60 mb น่าจะเพียงพอและเกิดผู้รู้สารสนเทศมากยิ่งขึ้น  นั่นย่อมส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน