หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันประแตกที่นคร

เมื่อวันที่ 15-23 สิงหาคม ที่บ้านทับน้ำเต้า ได้ประกาศอนุญาตให้ไปเก็บลูกประในเขตอุทยานเขานันได้ เป็นเหมือนเทศกาล ซึ่งในเขตนี้ถือว่าเป็นป่าต้นประหรือลูกประ (parah) เป็นส่วนใหญ่กินพื้นที่กว้างขวางมากถึงประมาณ 8000 ไร่ ถือว่ามีมากที่สุดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก็อาจเป็นแหล่งที่มีมากที่สุดในโลกก็ได้ มีเด็กนักเรียน ชาวบ้าน และบ้างก็มาจากต่างถิ่นจากอำเภอหัวไทร เชียรใหญ่ก็มี ที่มาเก็บลูกประแบกลงมาด้วยเป้แบกกันลงมา

เท่าที่สำรวจกันในวันประแตกนั้น มีรถบรรทุกเล็กขึ้นไปรับ รวมๆแล้ววันละประมาณ 30 ตันทีเดียว มีการรับซื้อกันที่นั่นกิโลละ 13 บาทโดยไม่มีการคัดขนาดอาจเป็นเพราะว่ามีขนาดไล่เรี่ยกันโดยประมาณ ไม่แน่ใจว่าเมื่อมาส่งขายที่ตลาดหัวอิฐแล้วจะเป็นกิโลเท่าใด ซึ่งโดยทั่วไปนิยมลูกประมาทำเป็นอาหารกินเล่น เช่นลูกประต้ม ลูกประต้มแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ล้วนำไปคั่ว หรือทอด หรืออบก็มีรสชาดเป็นที่ชื่นชอบ และทีนิยมทำกันมากคือนำไปดองเกลือแล้วจะเก็บไว้ได้นาน และราคาก็เพิ่มสูงขึ้นถึง กิโลกรัมละ 40 บาททีเดียว

อย่างไรก็ตามก็มีข้อควรระวังสำหรับลูกประ ที่รับประทานดิบๆ ไม่ได้ เพราะมีสารไซยาไนซ์อยู่เมื่อต้มสุกหรือดองจึงจะสลายไป บางคนบอกว่าต้นประมักขึ้นอยู่ริมน้ำ ชาวบ้านจะไม่โค่น เพราะรู้ว่าให้ผลที่นำไปขายได้ แต่ที่จริงอาจเป็นเพราะว่าเป็นไม้ที่อนุรักษ์ในเขตอุทยานที่ใครตัดจะต้องเสียค่าปรับต้องชดใช้ และยังมีช่วงเวลาที่ห้ามไม่ให้ใครขึ้นไปเก็บลูกประ เพื่อให้มีการขยายพันธ์เพิ่มขึ้นจากเมล็ดนั่นเอง นอกจากนี้แล้วใบต้นประขณะแตกยอดจะมีสีแดงสดสวยงามมากเมื่อแตกยอดพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยเป็นแถบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น